ผู้สมัครงาน
ยาเสพติดให้แต่โทษ สร้างความเสียหายและความสูญเสียแก่บ้านเมืองมามากมาย
เพื่อความปลอดภัยของทุกคน HR Buddy ขอพาแฟน ๆ ไปเจาะประเด็นนี้ในทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งต้องเป็นไปอย่างไรบ้าง ? บอกก่อนเลยว่า การพัวพันก็เลิกจ้างได้และถือว่าเป็นธรรมด้วยค่ะ
แม้ตามกฎหมายการตรวจหาสารเสพติด จะทำได้เฉพาะการตรวจโดยเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2564 นายจ้างจึงไม่มีอำนาจในการสั่งลูกจ้างในเรื่องนี้ หากลูกจ้างไม่ยินยอม
แต่ถ้าลักษณะงานเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร หรืองานขับรถบรรทุก ฯลฯ ซึ่งต้องรักษาความปลอดภัย หากลูกจ้างมีการเสพสารเสพติด ก็เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุทั้งต่อตัวผู้เสพและลูกจ้างคนอื่น ๆ ประสิทธิภาพการทำงานก็ลดลงด้วย กรณีนี้ นายจ้างจึงสามารถออกคำสั่งแก่ลูกจ้างได้ค่ะ
ถ้าลูกจ้างขัดคำสั่ง เลิกจ้างได้ไหม ?
ถ้านายจ้างกำหนดเป็นระเบียบ ข้อบังคับให้ลูกจ้างห้ามยุ่งเกี่ยวหรือเสพ และต้องเข้ารับการตรวจสารเสพติด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน ดังเช่นลักษณะงานข้างต้น หากลูกจ้างปฏิเสธ นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้ค่ะ
ทั้งนี้ จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6924/2557 นายจ้างมีข้อบังคับ ห้ามพนักงานกระทำผิดทางอาญา พร้อมประกาศว่า หากบริษัทหรือหน่วยงานราชการตรวจพบสารเสพติดในร่างกายพนักงาน พนักงานจะถูกพิจารณาโทษทางวินัยจากนายจ้าง
และวันที่ 30 มิ.ย. มีลูกจ้างถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน นายจ้างจึงบอกเลิกจ้างในวันที่ 15 ก.ค. ซึ่งแม้จากนั้นลูกจ้างจะเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพตามกฎหมายแล้ว แต่ลูกจ้างก็ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง การเลิกจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
นอกจากนี้ ถ้าพฤติการณ์ลูกจ้างมีการพัวพันกับยาเสพติด หากให้ทำงานต่อไปอาจเกิดความเสียหาย นายจ้างก็เลิกจ้างได้ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมด้วยค่ะ ฎีกา 6196/2560
https://www.facebook.com/labourlawclinique
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้เลยค่ะ https://www.facebook.com/hrbuddybyjobbkk
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : 02-514-7474 ต่อ 3
อีเมล : crm@jobbkk.com
Line : @jobbkkvip (อย่าลืมใส่ @)
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved